Photo by icon0.com from Pexels
1.พื้นที่การผลิตที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ต้องผ่าน “ระยะปรับเปลี่ยน” ซึ่งระยะปรับเปลี่ยนแต่ละมาตรฐานจะแตกต่างกัน เช่น กรณีข้าวอินทรีย์ มาตรฐาน มกษ.9000 จะมีช่วงระยะเปลี่ยนอย่างน้อย 12 เดือน หากต้องการผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปยัง สหภาพยุโรป ข้าวมีระยะปรับเปลี่ยนอย่างน้อย 4 เดือน แต่ช่วงระยะปรับเปลี่ยนอาจมีการ เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ตรวจประเมิน อาจยกเว้นระยะการปรับเปลี่ยนได้หาก พื้นที่การผลิตนั้นได้ทําการเกษตรตามหลักการในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และมีเอกสารหลักฐานอ้างอิงได้
2.แหล่งน้ําควรมีมาตรฐานการอนุรักษ์น้ําที่ใช้ในแปลงนา น้ําที่ใช้ปลูก ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย
3.การจัดการดินปุ๋ย ต้องรักษาหรือเพิ่มระดับความอุดมสมบูรณ์ ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ในดิน ปลูกพืชตระกูลถั่ว ใช้ปุ๋ยพืชสด ใช้พืชรากลึก ในการปลูกหมุนเวียน ควรมีมาตรการในการป้องกันดินเค็ม การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีแผนการใช้อย่าง ผสมผสาน และใช้เท่าที่จําเป็นในปริมาณที่เหมาะสม โดยคํานึงความสมดุลของธาตุอาหารในดินและ ความต้องการธาตุอาหารของข้าว
4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว
แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องมาจากแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์ ยกเว้นในพื้นที่ที่หาเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ไม่ได้ อนุโลมให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งทั่วไปสําหรับ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปีแรก
การควบคุม ป้องกัน หรือกําจัดสัตว์ศัตรูข้าว โดยใช้ มาตรการใดมาตรการหนึ่ง หรือหลายมาตรการร่วมกัน เลือกใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค แมลง สัตว์ ศัตรูข้าว และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เลือกใช้วิธีเขตกรรมหรือการจัดการในแปลงนา เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชคลุมดิน ใช้วิธีฟิสิกส์ ชีววิธี และจุลินทรีย์ ถ้าสารที่ใช้ดังกล่าว ไม่สามารถป้องกัน หรือกําจัดศัตรูข้าวได้ ให้ใช้สารตามที่มาตรฐานได้ระบุไว้
มาตรการป้องกันการปนเปื้อน พื้นที่ปลูกจะต้องห่างจาก แหล่งกําเนิดของวัตถุอันตราย หากมีจะต้องทําแนวป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางน้ําและอากาศ
โปรดติดตามข้อมูลเพิ่มเติมตอนต่อไปที่เว็บไซต์ หรือกดติดตามที่ Facebook >>
ที่มา กรมการข้าว
Comments