Photo by Tom Fisk from Pexels
การปลูกพืชแนวกันชนเพื่อเป็นแนวกั้นระหว่างนาอินทรีย์และไม่ใช่อินทรีย์ โดยการปลูกพืชต้นเตี้ยเช่น หญ้าแฝก ตะไคร้ หรือการปลูกพืชยืนต้น ไม้ผล ไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็งที่ปลูกเป็นแนวกั้น ตัวอย่างเช่นมะม่วง ขนุน เป็นต้นโดยความกว้างของแนวกันชนคือ 1 เมตร และสูง 1 เมตร
กรณีที่มีน้ำไหลผ่านโรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่มีความเสี่ยงทางสารเคมีไหลเข้ามาในพื้นที่อินทรีย์ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายและไม่สามารถทำนาอินทรีย์ได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขคือ นอกจากจะทำแนวกันชนให้ใหญ่และกว้างแล้ว ด้านนอกของแนวกันชน ต้องมีทางระบายน้ำ เพื่อทำให้น้ำที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสารเคมี เช่นไร่อ้อย ยางพารา ซึ่งอยู่ด้านบน แต่นาข้าวอยู่ด้านล่าง จำเป็นต้องมีทางระบายน้ำหรือร่องเปลี่ยนทางน้ำ ไม่ให้ไหลเข้ามาในพื้นที่นาอินทรีย์ได้
น้ำท่วมทำอย่างไร
กรณีน้ำหลาก คือน้ำไหลผ่าน แล้วไหลไปในพื้นที่อื่น ก็ปล่อบให้ไหลผ่านไป หากข้าวไม่ตายก็ปลูก ดูแล ดำเนินตามขั้นตอนตามปกติต่อไป สำหรับกรณีน้ำท่วมขัง ต้นข้าวตายหมด ต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่หมด ดังนั้นทางเบี่ยงน้ำจึงมีความสำคัญ ให้พื้นที่เราไม่เกิดความเสียหาย
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หากใช้รถเกี่ยวข้าวร่วมกับนาอื่นที่ไม่ใช่อินทรีย์ ต้องทำความสะอาดรถก่อน ไม่ให้มีข้าวตกค้าง และข้าว 3 -5 กระสอบแรกให้เป็นข้าวทั่วไป ไม่ใช่ข้าวอินทรีย์ ( Non-Organic ) ที่เหลือหลังจากนั้นเป็นข้าวอินทรีย์ หากตากแดด ต้องมีการแยกอย่างชัดเจน
หากเกี่ยวสดและส่งให้โรงสี ก็จะมีกระบวนการคัดกรองและตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก ( Grading Management ) ซึ่งต้องเป็นไปตามกระบวนการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
โปรดติดตามตอนต่อไป หรือเรียนรู้เพิ่มเติมครบถ้วนแบบเจาะลึก จากวีดีโอได้ที่ >>>
Comments